ที่มาขอวันสหกรณ์แห่งชาติ

   
วันสหกรณ์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สืบเนื่องมาจากสหกรณ์ในประเทศต่างๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์(พระองค์แรก) รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "

พระประวัติและพระนิพนธ์


พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือพระนามเดิม พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือ น.ม.ส. ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี"

พระประวัติ 
พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ในพระบวรราชวัง  เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา ๕ ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ ๑๖ ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา ๒ ปี ทรงเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี  พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์  พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรี และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖     

พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา" พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงโปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐   พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน

พระโอรส-ธิดา
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงสมรสกับคุณพัฒน์ บุนนาค บุตรีเจ้าพระยาภาศกรวงศ์ และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงมีพระโอรส-ธิดา คือ หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี หม่อมเจ้ารัชนีพัฒน์ รัชนี หม่อมเจ้าศะศิธร บุนนาค หม่อมเจ้าจันทร์พัฒน์ รัชนี ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (วรวรรณ) พระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงมีพระโอรส-ธิดา คือ 
หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

พระนิพนธ์ 
ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากพระนามเดิม รัชนีแจ่มจรัส มีผลงานตีพิมพ์ ได้แก่
1. ชีวิตชั้นๆ
2. เรื่องตามเสด๊จอเมริกา จดหมายถึงเพื่อน
3.จดหมายจางวางหร่ำ
4.นิทานเวตาล
5.กนกนคร
6.ความนึกในฤดูหนาว
7.ประมวลนิทานของ น.ม.ส.
8.ชุดวิตและงาน น.ม.ส.
9.ฉันท์ สดุดี สังเวย

พ.ศ. ๒๔๔๘ - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๓ -สืบราชสมบัติ พ.ศ. ๒๔๕๙ - พระนลคำฉันท์ และ ตลาดเงินตรา พ.ศ. ๒๔๖๑ - นิทานเวตาล พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพัฒกร รัชนี พ.ศ. ๒๔๖๕ - กนกนคร พ.ศ. ๒๔๖๗ - ความนึกในฤดูหนาว พ.ศ. ๒๔๖๙ - ปาฐกถา เล่ม ๑ พิมพ์แจกในงานพระราชเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม พ.ศ. ๒๔๗๒ - ปาฐกถา เล่ม ๒ พ.ศ. ๒๔๗๓ - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญา พ.ศ. ๒๔๗๔ - เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พ.ศ. ๒๔๗๓ - กลอนและนักกลอน พ.ศ. ๒๔๗๔ - คำทำนาย พ.ศ. ๒๔๗๗ - เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ - เสภาสภา พ.ศ. ๒๔๘๑ - ปฤษาณาเหรันศิก พ.ศ. ๒๔๘๗ - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรพระเนตรมืด ต้องให้ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต (พระธิดาในกรม) จดตามคำบอก

เปิด 5555 ครั้ง

เจ้าหน้าที่ข่าว
เมื่อ :1 มี.ค. 57
สมัครสมาชิกรับข่าวสารทาง Line
ID Line : @iqz6868h

เพิ่มเพื่อน